หลวงปู่มหาปราโมทย์ ปาโมชโช
(๒๔๖๖-๒๕๔๘)
วัดป่านิโครธาราม ตำบลหนองบัวบาน อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี
     
 
นามเดิม
 
ปราโมทย์ วังสะจันทานนท์
 
เกิด
 
วันพฤหัสบดี ที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๖๖ ตรงกับวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ ปีถุน
 
 
บ้านเกิด
 
ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราธานี
 
 
บิดามารดา
 
นายสิงห์คำ และนางเพียร วังสะจันทานนท์
 
พี่น้อง
 
เป็นบุตรคนเดียวของบิดามารดา
 
บรรพชา
 
อายุ ๑๖ ปี วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๘๓
 
อุปสมบท
 
วันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๗
 
เรื่องราวในชีวิต
 
ท่านเจริญวัยเติมโตที่บ้านหัวหว้า จ.ปราจีนบุรี ต่อมาท่านได้ติดตามโยมพ่อไปที่ จ. อุบลราชธานี
 
 
เพราะโยมพ่อของท่าน รับราชการทหาร และในสมัยเด็กนั้นเอง ท่านได้พบ
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่วัดเลียม และท่านหลวงปู่มั่น ได้เป่ากระหม่อมให้ พอรุ่งเช้าแม่ของท่านได้พาท่านไปใส่บาตรหลวงปู่มั่น
พ.ศ. ๒๔๗๖ ได้ไปจำพรรษาที่วัดบรมนิวาส เมื่อศึกษามหาเปรียญและได้เป็นผู้อุปัฎฐากดูแลเจ้าคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) เป็นเวลา ๓ ปี จนกระทั้งสมเด็จท่านมรณภาพ เมื่อสอบได้เปรียญธรรม ๔ ประโยคแล้ว ได้ออกปฎิบัติกับท่านพ่อลี ธมฺมธโร แห่งวัดอโศการาม ในช่วงแรกที่ท่านออกปฎิบัติ ท่านถือธุดงควัตร อย่างเคร่ง ครัด เหมือนที่ครูบาอาจารย์พาดำเนิน ในปีพ.ศ.๒๔๗๘ ท่านได้ออกธุดงค์กลับหาความวิเวกทาง จ.ปราจีนบุรี ท่านได้มาอยู่กับหลวงปู่บุญทัน ที่วัดป่าทรงธรรม
ในขณะนั้นเองท่านก็ได้เริ่มก่อสร้าง วัดขึ้นมาอีกวัดหนึ่ง คือ วัดเขาดิน ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กัน
ปี พ.ศ.๒๕๐๔ ตอนหลังที่ท่านพ่อลี ได้มรณภาพลง ใหม่ๆ ท่านหลวงปู่สิม พุทธาจาโร ได้ถือโอกาสมาจำพรรษา ที่วัดอโศการาม ท่านเอง จึงได้ขึ้นมาเชียงใหม่ มาจำพรรษาที่วัดสันติธรรม แทนหลวงปู่สิม ในช่วงเวลาที่ท่านยังได้พบกับหลวงปู่บุญเพ็ง กมฺปโก ที่นั้นด้วย ในรระหว่างอยู่จ.เชียงใหม่ นี้ท่านก็ได้ไปสนทนาธรรมอ กับครูบาอาจารย์ หลายรูป เช่น หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม หลวงปู่แหวน สุจณฺโณ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม เป็นต้น
เมื่อหลวงปู่สิม กลับจากวัดอโศการามแล้ว ท่านก็ได้ออกธุดงค์ ลงไปภาคอีสาน แสวงหาครูบาอาจารย์ เช่นครูบาอาจารย์ เช่น หลวงปู่ฟั่น อาจาโร หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
ในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ขณะท่านกำลังเดินธุดงศ์ อยู่ข้างทาง หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ซึ่งนั่งรถ ผ่านมาเจอ จึงจอดรถรับไปอยู่ที่วัดป่านิโครธาราม แต่เดิมท่านก็เคารพ ในองค์หลวงปู่อ่อนอยู่แล้ว ตั้งแต่ได้ฟังเทศน์ของท่านตอนอยู่วัดบรมนิวาส ซ้ำยังเคย อธิฎฐาน จะมาอยู่ที่วัดป่านิโครธาราม กับหลวงปู่อ่อน ด้วย พ.ศ.๒๕๓๗ ภายหลังหลวงปู่อ่านได้มรณภาพลงท่านจึงได้มาจำพรรษาและอยู่ที่วัดป่านิโครธาราม นี้แทนหลวงปู่อ่อน ตลอดมา.
ท่านได้อบรมธรรม และปฎิบัติธรรม เป็นแบบอย่าง แก่คณะศิษย์อยู่ตลอดเวลา ท่านเป็นผู้ที่ชอบปฎิบัติ มักน้อย พูดน้อย สันโดษ สมถะ ไม่ชอบยินดี และไม่สะสมในข้าวของเงินทอง มีความสเมตตาธรรมสูง เป็นที่เคารพรักแก่ศิษยานุศิษย์ทั้งหลาย
แม้อันนี้ท่านจะละสังขาร ไปแล้ว แต่ธรรมะคำสอนของท่าน ยังเป็นเหมือนแท่นหินที่แข็งแกร่ง ยากต่อการทำลาย หากทำได้ดังคำสอนท่าน ก็จะได้เห็นอมตะธรรม เหมือนดังที่องค์ท่านได้เห็นมา
 
มรณภาพ
 
วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ เวลา ๑๙.๒๕ นาที
ธรรมโอวาท
 
 

"...ธรรมอันผู้ฟังนั้นย่อมนำความงามมาให้ด้วยการฟัง เพราะคงนิวรณ์จะได้เพราะเหตุนั้น เรียกว่างามในเบื้องต้น ธรรมอันผู้ปฎิบัติอยู่ย่อมนำความงามมาให้ด้วยการปฎิบัติ เพราะ นำความสุขอันเกิดแก่สมถะ และวิปัสสนามาให้ เพราะเหตุนั้นจึงว่างามในท่ามกลาง เมื่อ ผลแห่งการปฎิบัติโดยตรงแล้ว ย่อมนำความงามให้แก่ผู้ปฎิบัติอย่างนั้น ๆ แม้ด้วยผลแห่ง การปฎิบัติเพราะนำมาซึ่งความเป็นผู้คงที่เพราะฉะนั้นจึงชื่อ ว่างานในที่สุด..."

"...นั่งภาวนาทุกวันวันเพื่อสังสมบุญกุศลนี้ พร้อมทั้งการสดับรับฟัง เพื่อให้เป็นเครื่องเชิดชู บำรุงใจ ของเราให้อาจหาญให้ตั้งใจ ในการสร้างบุญกุศลจะได้รู้หนทางอันประเสริฐ อันพระอริยเจ้า สรรเสริญ จึงอาศัยท่านกำจัดการฟุ้งซ่าน นิวรณ์ทั้งหลาย ออกไป ให้ในมันนิ่งอยู่ในอารมณ์ สงบอยู่อย่างนั้น เรียกว่า เป็นการฝึกจนมันแก่กล้าเข้าแล้วก็จะมีความฉลาด มันรู้เท่าแต่มันยังไม่หมดกิเลส อย่างพระโสดายังไม่หมดกิเลส แต่รู้หลักการรู้ถ่องแท้ว่าร่างกาย ไม่มีตัวตน หมดความยึดความถือ แต่มันยังไม่หมดจริง เพียงแต่รู้ว่าไม่มีสาระอะไร..."

     
     
   
   
หน้าหลัก | หน้าก่อน | หน้าต่อไป   
     
     
 
วัดสันติธรรม ต.ช้างเผือก อ.เมือง จังหวัดเชียงใหม่ ๕๐๓๐๐
โทร. ๐๕๓-๒๒๑๗๙๒  ๐๘-๗๑๙๓-๓๑๖๙  ๐๘-๖๑๘๗-๓๙๔๒ และ ๐๘-๑๖๐๒-๗๕๐๐